ไร่มันฝรั่งแหล่งวัตถุดิบป้อน"เลย์"


"บุญศรี ใจเป็ง" เกษตรกรผู้ปลูกมันฝรั่ง อ.สันทราย จังหวัดเชียงใหม่ บอกว่า เริ่มปลูกมันฝรั่งมาตั้งแต่เด็กราว ๆ ปี 2507 กับผู้เป็นพ่อปั่น ใจเป็ง โดยเริ่มแรกปลูกประมาณ 2-3 ไร่ จนปัจจุบันปลูกไร่มันฝรั่งประมาณ 1,500 ไร่ต่อปี การปลูกมันฝรั่งในระยะเเริ่มแรกนั้นขายผลผลิตให้กับฐานทัพทหารสหรัฐหรือจีไอที่เข้ามาประจำที่ประเทศไทยถือเป็นลูกค้าส่วนใหญ่ในขณะนั้น ในเบื้องต้นก่อนจะเริ่มปลูกมันฝรั่งอย่างจริงจังได้ปลูกมันฝรั่งในลักษณะแซมกับพืชอื่นเช่นต้นใบยาสูบ กระเทียม ถั่วเหลืองเป็นพืชแต่เดิมที่ทางครอบครัวได้ปลูกก่อนมันฝรั่งและเมื่อเริ่มมีความรู้มากขึ้นก็ได้ปรับเปลี่ยนมาเป็นปลูกอย่างจริงจังหลังทำนาข้าว จนกระทั่งเมื่อปี 2527 ได้มีโครงการหลวงร่วมสหรัฐทำการศึกษาวิจัยการปลูกมันฝรั่งอย่างเป็นระบบ และนำมันฝรั่งไปปลูกเพื่อทดแทนหรือลดการปลูกพืชอื่นนั่นก็คือฝิ่นตลอดจนการทำไร่เลื่อนลอย


สำหรับมันฝรั่งของไร่"บุญศรี"ได้ปลูกพันธุ์แอตแลนติค FL2215 FL2207 เนื่องจากให้ปริมาณแป้งสูง ปลูกง่าย ต้านทานโรคสูงเหมาะสมกับอากาศในประไทยโดยเฉพาะภาคเหนือและอีสานนั่นคือมีความเย็นเพราะมันฝรั่งเป็นพืชเมืองหนาวที่กลางคืนจะอยู่ในอากาศ 15 องศา กลางวัน 25 องศา อยู่ในแดด 12 ชั่วโมง ส่วนโรคของมันฝรั่งจะคล้ายกับการปลูกมะเขือเทศ การปลูกจะเริ่มต้นพ.ย.ถึงกลางเดือนธันวาคม และเก็บเกี่ยวในเดือนกุมภาพันธ์ เป็นพืชอายุสั้นที่ปลูกหลังนาได้ คือเพียงสามเดือนเท่านั้น การปลูกมันฝรั่งจะเริ่มจากการเตรียมและปรับปรุงดินโดยใช้รถแทรกเตอร์ทำดินให้ละเอียดทำแปลงปลูกให้เรียบ และทำร่องให้ลึกพร้อมใส่ปุ๋ยปลูกในระยะห่างระหว่างต้น 90 ซม.ใช้เวลาในการปลูกในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์


ในส่วนของการลงทุนอยู่ที่ประมาณ 20,000 - 32,000 บาทต่อไร่กำไรอยู่ที่ 10,000 -18,000 บาทภายหลังหักต้นทุนแล้ว ทั้งนี้ปริมาณผลผลิตจะได้มากน้อยเพียงใดก็อยู่ที่สภาพอากาศ สภาพมันฝรั่ง โดยผลผลิตที่ได้ตั้งแต่เริ่มปลูกอยู่ที่ 2-4 ตันต่อไร่และมีเป้าหมายจะให้ได้ 5 ตันต่อไร่ในฤดูกาลเพาะปลูกปีนี้หากปริมาณน้ำเพียงพอเพราะถือเป็นปัจจัยสำคัญในการเพาะปลูกบริษัทรับซื้อ


"สิ่งที่ภูมิใจกับครอบครัวนั่นคือเมื่อปี 2528 เดือนกุมภาพันธ์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้เสด็จพระราชดำเนินมายังไร่มันสำปะหลังของผม"



เกษตรกรผู้นี้ได้ให้คำแนะนำกับผู้ที่อยากเปลี่ยนมาปลูกในฝรั่งด้วยว่า มันฝรั่งมีความเสี่ยงเหมือนกับพืชอื่นโดยทั่วไปแต่สำหรับการปลูกตนมีตลาดรับซื้อแน่นอนมีการประกันราคาชัดเจนจากผู้รับซื้อจากเอกชนคือการทำ Contract Farming จากบริษัทเป๊ปซี่โคตลอดจนการปลูกข้าวก็ได้ทำ Contract Farming กับโรงสีข้าวเช่นกัน แม้ว่ามันฝรั่งจะเป็นพืชอายุสั้นแต่ก็มีข้อจำกัดเรื่องการตลาด เกษตรกรผู้ปลูกต้องมีการทำข้อตกลงกับโรงงานผู้รับซื้อ เพื่อเป็นการยืนยันว่ามีตลาดรับซื้อแน่นอน แม้ตลาดมีความต้องการมากเพราะในภาคการผลิตยังไม่เพียงพอที่จะป้อนวัตถุดิบให้กับผู้ผลิต แต่เกษตรกรผู้ปลูกก็ต้องมีการบริหารจัดการที่ดีต้องมีข้อตกลงมีแผนการผลิต หากทำเป็นแปลงใหญ่บริษัทจะให้ความสำคัญเพราะมันฝรั่งเป็นพืชที่ดีวันนี้เกษตรกรไทยมีความสามารถในการปลูกพืชมันฝรั่งหรือพืชอื่นทุกอย่างแต่มีปัญหาการบริหารจัดการที่ไม่ได้มาจากตัวพืช

"ภาครัฐมองปัญหาไม่ถูกจุด มันฝรั่งเป็นพืชที่มีอนาคต เป็นพืชอาหารหลัก พืชหลายตัวมีความจำเป็นในการสร้างการค้า แต่มีปัญหาแต่ปัญหาไม่ได้มาจากตัวพืชมาจากระบบบริหารจัดการ"


สำหรับเกษตรกรผู้นี้ได้รับรางวัลเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติสาขาพืชไร่ พ.ศ.2553 ทั้งยังเป็นมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์(ส่งเสริมการเกษตร ) มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประธานสหกรณ์ผู้ปลูกมันฝรั่งเชียงใหม่ จำกัด พ.ศ. 2534 – 2543 กรรมการมาตรฐานมันฝรั่ง สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) รวมทั้งได้มีการเดินทางไปศึกษาดูงานการผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งในต่างประเทศ ทั้งเนเธอแลนด์ สก็อตแลนด์ และญี่ปุ่นปัจจุบันเป็นวิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับมันฝรั่งให้กับหลายหน่วยงาน เช่น ภาควิชาพืชไร่นา ม.เกษตรศาสตร์, ม.แม่โจ้, โครงการหลวง และ หน่วยงานที่สนใจ การจัดทำแปลงสาธิตให้โครงการหลวงปางอุ่ง-แม่แจ่ม-ม่อนแจ่ม

"ชวาลา วงศ์ใหญ่"ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายส่งเสริมการเกษตร บริษัทเป๊ปซี่-โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง จำกัด กล่าวว่า ในต่างประเทศมันฝรั่งถือเป็นพืชสำคัญอันดับโลก สำหรับประเทศเมื่อปี 2549 กระทรวงเกษตรได้นำมันฝรั่งเข้ามาปลูกเป็นพืชที่สร้างความั่นคงแก้ปัญหาพืชล้านตลาดของ จากนั้นอุตสาหกรรมมันฝร่งก้เริ่มมีบทบาทมากขึ้นและครบวงจรตามลำดับ การปลูกมันฝรั่งในส่วนการส่งเสริมทางบริษัทกับเกษตรกรผลผลิตอยู่ที่ 3 ตันต่อไร่แต่ได้วางเป้าหมายไว้ที่ 5 ตันต่อไร่หากได้จำนวนดังกล่าวถือว่าปริมาณเทียบเคียงกับต่างประเทศ เป๊ปซี่โคยึดถือนโยบายการส่งเสริมการเกษตรอย่างยั่งยืนมาโดยตลอดโดยมีการส่งเสริมการเพาะปลูกมันฝรั่งอย่างยั่งยืนภายใต้สัญญาข้อตกลงซื้อขายผลผลิตมันฝรั่งที่กำหนดราคารับซื้อที่แน่นอนพร้อมสนับสนุนถ่ายทอดความรู้จากต่างประเทศในด้านเทคนิคการเพาะปลูกเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำการเกษตรและช่วยเพิ่มผลิตผลต่อไร่ให้สูงขึ้น การสนับสนุนหัวพันธุ์มันฝรั่งคุณภาพและปัจจัยการผลิตต่าง ๆ รับซื้อมันฝรั่งจากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ อย่างต่อเนื่องทุกปี เกษตรกรที่เราให้การส่งเสริมราว 3,500 ราย ครอบคลุมพื้นที่การปลูกรวมกว่า 22,000 ไร่ใน 6 จังหวัดภาคเหนือ คือ เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา และตาก รวมถึงในภาคอีสาน อาทิ จังหวัดสกลนคร และนครพนม เป็นต้น


การปลูกมันฝรั่งในประเทศไทยอากาศเย็นคือปัจจัยสำคัญที่สุดในการปลูกมันฝรั่ง ดังนั้น ภาคเหนือ จึงเป็นภูมิภาคเดียวที่มีปัจจัยด้านอากาศเหมาะสมกับการปลูกมันฝรั่งมากที่สุดผลผลิตเฉลี่ย 3 ตัน/ไร่สำหรับไทย ต่างประเทศผลผลิตเฉลี่ย 6 -8 ตัน/ไร่ ทั้งนี้ 95% ปลูกในภาคเหนือ เกษตรกรประมาณ 5,000 –6,000 ราย ผลผลิตรวมทั้งประเทศประมาณ 105,000 ตัน พื้นที่ปลูกรวมประมาณ 35,000ไร่ โดยเป็นข้อมูลจากสำนักงานเสรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปี 2559 โดยฤดูปลูกหลักคือฤดูแล้ง : ปลูกพย.–ธค.และเก็บเกี่ยว กพ. –มีค. พื้นที่ปลูกประมาณ 70% ผลผลิตเฉลี่ย 3 ตัน/ไร่ ฤดูปลูกรองคือฤดูฝน: ปลูก พค.- กค. และเก็บเกี่ยว สค.–ตค. สามารถปลูกได้บางจังหวัดที่มีอากาศหนาว ซึ่งอยู่สูงจากระดับน้ำทะเล >1,000 ม. พื้นที่ปลูกประมาณ 30 % ผลผลิตเฉลี่ย 2 ตัน/ไร่

"เป้าหมายการส่งเสริมการเกษตรยั่งยืนได้ริเริ่มระบบน้ำหยดเพื่อเป็นต้นแบบในการเพิ่มประสิทธิภาพ สูงสุดของการให้น้ำและธาตุอาหารรวมทั้งสามารถควบคุมน้ำได้ ไม่สร้างผลกระทบต่อระบบนิเวศ สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม เกษตรกรมีความมั่นคง พึ่งตนเองได้ และมีความสุข ผลผลิตมีคุณภาพ ปลอดภัย ไม้มีสารพิษตกค้างลดการพึ่งพาจากภายนอก การปลูกพืชทุกชนิดมีโอกาสเป็นโรคแต่ยาที่ใช้ในการรักษาก็มีหลากหลายบางอย่างก็ต้องใช้สารเคมีการปลูกมันฝรั่งเราเริ่มดูแลตั้งแต่เริ่มต้นว่าการใช้สารเคมีที่ถูกต้องควรเป็นอย่างไรและใส่สารเคมีในช่วงเวลาไหนจึงจะเหมาะสมเกษตรกรเองก็ต้องเรียนรู้อย่างถูกต้องเช่นกัน"

มันฝรั่งจัดเป็น 1 ใน 4 ของพืชอาหารที่สําคัญที่สุดของโลกอันได้แก้1) ข้าวโพด 2) ธัญพืช 3) ข้าว และ4) มันฝรั่ง ใช้เป็นอาหารประจําวัน มีแคลอรี่ต่ํา อุดมด่วยวิตามิน อิ่มท้องได้นาน ช่วยลดความอ้วน โปรตีนที่ได้จากมันฝรั่งมีคุณภาพสูงกว่าโปรตีนที่ได้ จากถั่วลิสง ใช้ในอุตสาหกรรมเพื่อผลิตแอลกอฮอลและกรดซิตริกลอยาง พลาสติก ฟิลม์ สีน้ํามัน และใช้ในอุตสาหกรรมกระดาษ อุตสาหกรรมทอผ้า ช่วยลดรอยคล้ำใต้ตาได้เพราะมันฝรั่งมีเอนไซม์ที่ทําให้สีผิวดูอ่อนและจาง ลงได้ แก้ปัญหาตาคล้ําอย่างรวดด่วนได้เป็นอย่างดี ใช้เป็นอาหารสัตว์โดยเฉพาะโคนมที่จะให้ปริมาณน้ำนมมากกว่าปกติ

"จรณชัย ศัลยพงษ์"ผู้อำนวยการฝ่ายบรรษัทสัมพันธ์ บริษัท เป๊ปซี่-โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง จำกัด กล่าวว่า มันฝรั่งเป็นพืชเศรษฐกิจที่สร้างผลกำไรให้เกษตรกรประมาณ 8,000 – 10,000 บาทต่อไร่ต่อปี โดยเฉพาะมันฝรั่งพันธุ์โรงงาน ซึ่งใช้เป็นวัตถุดิบในการแปรรูป ถือเป็นพืชที่มีศักยภาพสูงในเชิงเศรษฐกิจ เนื่องจากเป็นที่ต้องการของตลาด มีการประกันราคาและมีแหล่งรับซื้อที่แน่นอน อยู่ที่ราคา 10.80 บาทต่อกิโลกรัม แต่ภาครัฐประกันอยู่ที่ 10.40 บาทต่อกก.แต่ในของบริษัทหากเกษตรกรรายใดที่ปลูกและดูแลมันฝรั่งอย่างดีก็จะมีราคาจูงใจรับซื้อที่ 12.55 กก.


มันฝรั่งที่ผลิตได้ในปัจจุบันยังไม่เพียงพอต่อความต้องการภายในประเทศ โดยเฉพาะการแปรรูปเป็นมันฝรั่งแผ่นทอดกรอบ ภาคอุตสาหกรรมมีความต้องการประมาณ 120,000 – 150,000 ตันต่อปี แต่ผลิตในประเทศเพียง 105,988 ตันทำให้ต้องนำเข้าจากต่างประเทศปีละ 36,317 ตัน ทำให้คณะอนุกรรมการบริหารการผลิตกลุ่มสินค้าพืชหัว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทำร่างยุทธศาสตร์เพื่อส่งเสริมการปลูกมันฝรั่งพันธุ์โรงงานใน 16 จังหวัดภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพื่อทดแทนพื้นที่ปลูกพืชอื่น ๆ ที่มีความเสี่ยงของผลตอบแทนจากความไม่แน่นอนด้านผลผลิตและราคา อาทิ กระเทียม หอมแดง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

เป๊ปซี่โคให้การสนับสนุนร่างยุทธศาสตร์ฯดังกล่าวเพราะทำให้ระบบการผลิตมีความมั่นคง ส่งเสริม ขยายการเพาะปลูกมันฝรั่งภายในประเทศที่เน้นปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตและคุณภาพของผลผลิต ซึ่งส่งผลดีต่อเกษตรกรในการพัฒนาทักษะความรู้ ช่วยยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันระยะยาว สอดคล้องนโยบายบริษัทฯที่มุ่งเน้นใช้วัตถุดิบในประเทศเป็นหลัก เพื่อให้เกิดการส่งเสริมการจ้างงาน การสร้างรายได้ ซึ่งส่งผลต่อชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของเกษตรกรและสร้างความยั่งยืนให้กับทุกชุมชนที่เราดำเนินธุรกิจ ตลอดจนการนำเสนอผลิตภัณฑ์ทางเลือกที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากขึ้น การดําเนินกิจกรรมทางด้วยความรับผิดชอบต่อโลกและสิ่งแวดล้อมไม่ว่าจะเป็นการลดการใช้น้ำ ปริมาณของเสีย การปล่อยก๊าซเรือนกระจกและทรัพยากรอื่น ๆ การส่งเสริมศักยภาพของทรัพยากรบุคคลและชุมชนด้านการสิทธิมนุษยชน ด้านการส่งเสริมการเกษตรกร ด้านความหลากหลาย ด้านศักยภาพของสตรีและเยาวชน"

สำหรับผลิตภัณฑ์ของทางบริษัทภายใต้ชื่อ"เลย์"จะมีหลากหลายซึ่งบางชนิดจะออกวางจำหน่ายในช่วงระยะเวลาหนึ่งและไม่ได้วางจำหน่ายตลอดเหมือนรสชาติอื่นในขณะนี้ รวมทั้งเป็นอุตสาหกรรมสีเขียว และคำนึงถึงผู้บริโภค"

"ช่อทิพย์ แดงใจ"ผู้จัดการโรงงานลำพูน กล่าวว่า เมื่อปี 2538 มีการตั้งโรงงานที่จว.ลำพูน เพราะเป็นจุดศูนย์กลางการเพาะปลูกที่ภาคเหนือและนำเข้าโรงงานได้รวดเร็วเนื่องจากมีผลต่อค่าของแป้งในมันฝรั่งเพราะการผลิตมันฝรั่งจะต้องมีค่าความเป็นแป้งที่สูง สำหรับกระบวนการผลิตตั้งแต่จากไร่จนถึงออกมาเป็นบรรจุภัณฑ์วางจำหน่ายตามท้องตลาดนั้น จะเริ่มจากการนำมันฝรั่งมาทำความสะอาด ตรวจวัดปริมาณของแป้ง ลำเลียงสู่การผลิตแะล้างมันฝรั่งอีกครั้ง และแยกแยะสิ่งแปลกปลอม เครื่องจักรจะปอกเปลือกและขัดเบา ๆ ที่บริเวณหัวมันฝรั่ง การตัดหัวมันฝรั่งจะเปลี่ยนใบมีกในตัวเครื่องทุก ๆ 90 นาที เพื่อให้คมตลอดหากไม่คมจะทำให้มีผลต่อมันฝรั่งที่อมน้ำมันมากเกินไปและนำมาผ่านการล้างอีกครั้งก่อนอบและเข้าเตาทอด และเมื่อออกมาเป็นมันฝรั่งก็ต้องวัดความชื้นเพื่อให้ได้มาตรฐานโดยขั้นตอนนี้จะมีการส่งสัญญาณจากเครื่องไปยังคอมพิวเตอร์ว่าความชื้นได้มาตรฐานหรือไม่ รวมทั้งการปรุงรสมันฝรั่งก็จะเป็นการตั้งค่าอัตโนมัติ


"การบรรจุผลิตภัณฑ์ในถุงเลย์ที่จะเห็นว่ามีความโปร่ง เนื่องจากได้บรรจุสาร"ไฮโดรเจน"เพื่อกันหืนโดยการไล่สารออกซิเจนออกมานั่นเอง"






ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น