ไม่ต้านเพลี้ยกระโดดปลูกข้าวรอบใหม่เลี่ยงปทุมธานี-กข35


"อนันต์ สุวรรณรัตน์"อธิบดีกรมการข้าว เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในหลายพื้นที่ ประกอบกับในช่วงนี้สภาพอากาศเหมาะสมต่อการขยายประชากรเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลได้อย่างรวดเร็วและมีแนวโน้มขยายตัวในวงกว้างเพิ่มขึ้น ดังนั้น กรมการข้าวจึงออกประกาศเรื่อง เตือนภัยเพื่อป้องกันการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ประกาศ ณ วันที่ 29 กันยายน 2559 โดยมีสาระสาคัญคือ ในการเพาะปลูกข้าวรอบใหม่ ชาวนาควรหลีกเลี่ยงการปลูกข้าวพันธุ์ที่ไม่ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เช่น พันธุ์ปทุมธานี 1 และพันธุ์ กข35 ทั้งนี้ควรเลือกปลูกข้าวพันธุ์ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เช่น พันธุ์พิษณุโลก 2 สุพรรณบุรี 2 สุพรรณบุรี 3 สุพรรณบุรี 90 กข31 กข41 กข47 และกข49 โดยไม่ควรปลูกพันธุ์เดียวติดต่อกันเกิน 4 ฤดูปลูก ควรปลูกสลับกันระหว่างพันธุ์ต้านทานสูงกับพันธุ์ทนทานหรือพันธุ์อ่อนแอปานกลาง โดยพิจารณาอายุเก็บเกี่ยวให้ใกล้เคียงกันเพื่อลดความเสียหายเมื่อเกิดการระบาดรุนแรง

นอกจากนี้ควรใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อป้องกันกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้าตาล ดังนี้ช่วงก่อนเกิดการระบาด คือ 1 ลด - 2 งด - 3 เพิ่ม โดยลดอัตราการหว่านเมล็ดพันธุ์ข้าว เป็น 15-20 กิโลกรัม/ไร่ งดใช้สารเคมีฆ่าแมลงในระยะข้าวอายุน้อยกว่า 40 วัน งดใช้อะบาเม็กตินและไซเพอร์เมทริน ในนาข้าว เพิ่มการปลูกข้าวพันธุ์ต้านทาน เพิ่มการปลูกพืชมีดอกบนคันนาเพื่อรักษาสมดุลศัตรูข้าว เพิ่มการสำรวจตรวจเยี่ยมแปลงนาสม่ำเสมอและเพื่อให้การป้องกันการจัดเพลี้ยกระโดดสีน้าตาล ให้ได้ผล เกษตรกรต้องหมั่นสำรวจแปลงนาอย่างสม่ำเสมอทำการตรวจนับความหนาแน่นของประชากรเพลี้ยกระโดดสีน้าตาล ที่กำลังระบาด และปฏิบัติตามคำแนะนำของทางราชการ


สำหรับแหล่งที่มีการระบาดและควบคุมระดับน้ำในนาได้ ช่วงหลังปักดำหรือหว่านแล้ว 2-3 สัปดาห์จนถึงระยะตั้งท้อง ควรควบคุมน้ำในแปลงนาให้พอดินเปียก หรือมีน้ำเรี่ยผิวดินนาน 7-10 วัน แล้วปล่อยขัง ทิ้งไว้ให้แห้งเองสลับกันไป จะช่วยลดการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้าตาล และในระยะข้าวแตกกอ (อายุ 1-40 วัน หลังหว่านข้าว) เมื่อตรวจพบตัวอ่อนของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล วัยที่ 1-2 จานวนมากกว่า 10 ตัวต่อต้น ให้ใช้สารฆ่าแมลงบูโพรเฟซิน หรือ ใช้สารอิโทเฟนพรอกซ์ โดยใช้อัตราตามคาแนะนำที่ระบุในฉลาก และปรึกษาเจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยข้าวและศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวในพื้นที่

ส่วนในระยะข้าวตั้งท้องถึงออกรวง เมื่อพบเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล 10 ตัวต่อกอ หรือ 1 ตัวต่อ 1 ต้น และไม่พบมวนเขียวดูดไข่หรือพบจำนวนน้อยมาก ให้ใช้สารไดโนทีฟูแรน หรือสารคาร์โบซัลเฟน โดยใช้อัตราตามคำแนะนำที่ระบุในฉลาก หรือปรึกษาเจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยข้าวและศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวในพื้นที่ ในระยะข้าวใกล้เก็บเกี่ยว หากพบการระบาดโดยต้นข้าวในนามีอาการแห้งเป็นหย่อมๆ หรือพบมีเพลี้ยกระโดดสีน้าตาลบินมาเล่นแสงไฟ ให้ใช้เครื่องดูดแมลงล่อทำลายเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลตั้งแต่เวลา 19.00-22.00 น. เพื่อลดจำนวนเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลที่จะอพยพไปยังแปลงปลูกข้าวใหม่




                       

ความคิดเห็น