เร่งฟื้นฟูวิกฤติดินเค็ม

กรมพัฒนาที่ดิน เร่งฟื้นฟูดินภาคอีสานเหนือ หนุนเกษตรกรใช้ที่ดินอย่างเหมาะสม  ปรับปรุงบำรุงเพิ่มความอุดมสมบูรณ์



นายก่อเกียรติ จันทร์พึ่งสุข  ผูู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 5 กรมพัฒนาที่ดิน เปิดเผยว่า สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 5 (สพข.5) ดูแลรับผิดชอบพื้นที่ 8 จังหวัดภาคอีสานเหนือ  ประกอบด้วย จังหวัด ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ สกลนคร อุดรธานี หนองคาย หนองบัวลำภู และบึงกาฬ มีพื้นที่ทำการเกษตรค่อนขำงมาก

แต่ส่วนใหญ่จะประสบปัญหาคุณภาพดินขาดความอุดมสมบูรณ์ ดินเค็ม ดินทราย นอกจากนี้ ยังขาดแคลนแหล่งน้ำ และปัจจัยการผลิตต่างๆ ที่สำคัญคือการปลูกพืชไม่เหมาะสมกับสภาพดิน ทำให้ผลผลิตต่อไร่ต่ำ ส่งผลกระทบต่อรายได้และความเป็นอยู่ของเกษตรกร

ทั้งนี้สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 5 พยายามถ่ายทอดความรู้เรื่องการทำเกษตรในพื้นที่เหมาะสม (Zoning by Agri-map) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เกษตรกรสามารถใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและ ยั่งยืน พร้อมกันนี้ ยังมุ่งเน้นให้เกษตรกรมีสระน้ำในไร่นาอย่างน้อยรายละ 1 บ่อ เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดู แล้ง



ซึ่งจากการสำรวจข้อมูลพบว่าเกษตรกรที่มีสระน้ำในไร่นา เมื่อประสบปัญหาภัยแล้งอย่างปีที่ผ่านมาถือ ว่าแล้งหนักยังมีน้ำเหลือใช้อีก 20-30% ของความจุสระน้ำ เพียงพอที่จะใช้ในการทำเกษตร ลดผลกระทบ จากปัญหาภัยแล้งได้ในระดับหนึ่ง กรมพัฒนาที่ดินได้ทำโครงการแหล่งน้ำ ในไร่นานอกเขตชลประทาน (บ่อจิ๋ว)

โดยให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการออกค่าใช้จ่าย 2,500 บาทต่อบ่อ ถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่ากับ ประโยชน์ที่จะได้ร้บ โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคอีสานที่ประสบปัญหาภัยแล้งเป็นประจำ ซึ่งไม่เพียงแต่มีแหล่งน้ำไว้ใช้ ในสระน้ำยังสามารถเลี้ยงปลาหรือสัตว์น้ำ ต่างๆ  รอบขอบสระก็ปลูกพืชผักสวนครัว ไว้บริโภคใน ครัวเรือนหรือจา หน่ายสร้างรายได้อีกทางหนึ่ง

ส่วนด้านการปรับปรุงบำรุงดิน ได้ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพืชหลังนาโดยเฉพาะพืชตระกูลถั่ว เช่น ปอเทือง เป็นพืชปุ๋ยสดไถกลบเพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับดิน ตัวอย่างที่ อำ เภอโคกโพธิ์ไชย จังหวัด ขอนแก่น เกษตรกรที่นี่จะปลูกพืชหลังนาทุกแปลง  ไม่เพียงแต่ดินดีขึ้น ยังสามารถขายเมล็ดพันธุ์พืชปุ๋ยสด คืนให้กับกรมพัฒนาที่ดินเป็นรายได้เสริมจากอาชีพหลัก ช่วยให้เกษตรกรมีรายได้ไม่ต้องอพยพไปหางาน ทำนอกภาคเกษตรหลังฤดูทำนา



สำหรับพื้นที่ดินเค็มซึ่งเป็นปัญหาสำคัญในพื้นที่ภาคอีสานเนื่องจากมีพื้น ที่ดินเค็มมากถึง 17.5 ล้านไร่ ทางสำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 5 ได้ศึกษาวิจัยหารูปแบบการจัดการดินเค็มอย่างมีประสิทธิภาพและถ่ายทอดขยายผลสู่เกษตรกร จนปัจจุบนั มีเกษตรกรหลายรายที่ประสบความสำเร็จ สามารถใช้พื้นที่ดินเค็มทำการเกษตร มีรายได้และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น แสดงให้เห็นว่าปัญหาดินต่างๆ สามารถแก้ไช้ได้เพียงแค่มีการจัดการอย่างถูกต้อง

อย่างไรก็ตามกรมพัฒนาที่ดินกำลังเร่งทำแผนการใฃ้ที่ดินระดับตำบล โดยมีตำบลนำร่อง 77 ตำบล ใน 77 จังหวัด ซึ่งในแผนที่ดังกล่าวจะมีข้อมูล เช่น ข้อมูลกลุ่มชุดดิน การใช้ประโยที่ดิน ความเหมาะสมของดินกับการปลูกพืช ข้อมูลดินปัญหา เป็นต้น เกษตรกรสามารถใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจวางแผน ทำการเกษตร สามารถบริหารจัดการพื้นที่ของตนเองได้อย่างเหมาะสมยิ่งขึ้น


ในส่วนของพื้นที่ 8 จังหวัดภาค อีสานเหนือ ได้เชิญเกษตรกรในแต่ละตำบลมาให้ความคิดเห็นสำหรับเป็นข้อมูลจัดทำเป็นแผนที่ของตำบล เรียบร้อยแล้ว ทำให้ทราบถึงปัญหาและความต้องการของเกษตรกรในพื้นที่รอบด้านมากขึ้น

ดังนั้น สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 5 จึงมอบหมายให้สถานีพัฒนาที่ดินทั้ง 8 จังหวัด เร่งเข้าไปให้การสนับสนุนช่วยเหลือแก้ไขปัญหาต่างๆ ของเกษตรกรในพื้นที่ เพื่อเปิดโอกาสให้เกษตรกรได้เข้าถึงองค์ความรู้และบริการของภาครัฐอย่างทั่วถึงมากขึ้น









ความคิดเห็น