ดันฟื้นฟูอาชีพเลี้ยงแพะ หลังวิกฤตโควิด-19

นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวภายหลังตรวจเยี่ยมฟาร์มแพะเสรี ของนายเสรี บุญยรักษ์ ตำบลวิชิต อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต พร้อมด้วย ดร.ทองเปลว กองจันทร์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ น.สพ.สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ และหัวหน้าส่วนที่เกี่ยวข้อง ว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 

โดยกรมปศุสัตว์ ได้ส่งเสริมการวางระบบและคุณภาพฟาร์มแพะเนื้อ คือ ฝึกอบรมการพัฒนาจัดการฟาร์มแพะและสุขภาพแพะ และการช่วยเหลือด้านสุขภาพเบื้องต้น การค้นหาควบคุมโรค ทั้งนี้ ได้ส่งเสริมการพัฒนาผลิตสินค้าเกษตรหลักของภาคและสร้างความเข้มแข็งสถาบันเกษตรกรแนวทางการพัฒนา ส่งเสริมให้มีการบริหารจัดการฟาร์มอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพตามความต้องการของตลาด และมีการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม



สำหรับ ฟาร์มแพะเสรี มีแพะจำนวน 300 ตัวสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดภูเก็ต ได้มีการวางแผนการดำเนินงาน โดยการพัฒนาฟาร์ม ปัจจุบันได้รับการรับรองฟาร์มที่มีระบบการป้องกันโรคและการเลี้ยงสัตว์ที่ไม่เหมาะสม (GFM) เพื่อให้ได้รับการรับรองฟาร์มที่มีการปฎิบัติการทางการเกษตรที่ดี (GAP)(มาตรฐานฟาร์ม) และเป้าหมายเพิ่มแม่พันธุ์แพะให้มากขึ้น เพื่อเพิ่มผลผลิตแพะขุนปีละไม่น้อยกว่า 600 ตัว สร้างรายได้ไม่ต่ำกว่าเดือนละ 240,000 บาท ภายในปี 2564

จากวิกฤตโควิด 19 ส่งผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจทั่วโลก โดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ตซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของไทยได้รับผลกระทบโดยตรง รัฐบาล โดยกระทรวงเกษตรฯ จึงส่งเสริมให้เกษตรกรได้มีรายได้ และอาชีพทางเลือกที่ใช้น้ำน้อย ผ่านโครงการสนับสนุนสินเชื่อเพื่อการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์และเกี่ยวกับกิจการที่เกี่ยวเนื่องฯ  (โคขุน กู้วิกฤต Covid-19) 



เป็นโครงการเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ มีตลาดรองรับที่แน่นอน มีการประกันราคา สำหรับการสนับสนุนเงินทุน ธนาคารเพื่อการเกษตรอละสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สนับสนุนสินเชื่อเพื่อการเลี้ยงสัตว์ 1 ล้านบาท ดอกเบี้ย 100 บาท/ปี

กรมปศุสัตว์ จะดูแลด้านการจัดการฟาร์มเลี้ยงสัตว์ การจัดการด้านอาหารสัตว์ การจัดการด้านระบบประกันภัยสัตว์ การจัดการ ด้านเครือข่ายและตลาดรับซื้อเพื่อการส่งออกต่างประเทศ เป็นต้น โดยกำหนดชนิดของสัตว์ที่ส่งเสริม ให้เกษตรกรเลี้ยงมี 4 ชนิด 



ทั้งนี้ ได้แก่ โคเนื้อขุน กระบือเนื้อ แพะเนื้อ และไก่พื้นเมือง การดำเนินการส่งเสริมและเลี้ยงสัตว์ภายใต้หลักการ “ตลาดนำการผลิต” เพื่อลดความเสี่ยงด้านภาระหนี้สิน เป็นการเพิ่มทางเลือกและ สร้างโอกาสในการประกอบอาชีพและรายได้ให้กับเกษตรกร








ความคิดเห็น