เล็ง ! เพิ่มรายได้เกษตรกรร้อยละ 3.8 ของจีดีพี

นายทองเปลว กองจันทร์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมเพื่อมอบนโยบายแนวทางการขับเคลื่อนภาคการเกษตร ให้แก่ผู้บริหารและข้าราชการของกระทรวงเกษตรฯ ว่ากระทรวงมุ่งขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ ตามนโยบายรัฐบาล นโยบายกระทรวงให้บรรลุเป้าหมาย แก้ไข ปัญหาเฉพาะหน้าให้เกษตรกร วางรากฐานการทางานของกระทรวงรองรับความปกติใหม่ (New Normal) และสร้างเอกภาพในการขับเคลื่อนภารกิจของกระทรวง 

เชื่อมโยงยุทธศาสตร์กับพันธกิจของกระทรวง “เชื่อมโยงการบริหาร” สร้างการสื่อสารนโยบายของกระทรวงไปยังผู้ปฏิบัติ “แปลงสารให้ชัด” บริหารจัดการให้สอดคล้องกับภารกิจ “จัดสรรให้ถูก”เป้าหมาย1

1. ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศสาขาเกษตร เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 3.8

2. ผลิตภาพการผลิตของภาคเกษตรเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 1.2

3. เกษตรกรที่มีรายได้ต่ากว่าเส้นความยากจนลดลงไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ต่อปี



สำหรับงานภารกิจเร่งด่วนคือการเร่งรัดขับเคลื่อนงานพระราชดำริ กว่า4พันโครงการ การพัฒนาเกษตรกร รับเรื่องราวร้องทุกข์ทุกพื้นที่ แม้กระทั่งผู้ตรวจราชการ ออกพื้นที่ต้องรับเรื่องร้องทุกข์ เกษตรกรสามารถยื่นได้เลย ไม่ต้องเข้ามาถึงกระทรวงเกษตรฯ นับว่าปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานมิติใหม่ โดยส่งเรื่องความทุกข์ร้อน พร้อมภาพเข้าไลน์ได้ทันที 

ทุกงานจะมีตัวชี้วัดที่ยังขับเคลื่อนไม่ได้ตามแผน จุดอ่อนอยุ่ตรงไหนเร่งแก้ไข โดยเฉพาะบิ๊กดาต้า เริ่มเห็นกลางปี2564 เกษตรกรสามารถเข้าระบบใช้ได้ จะเห็นคาดการณ์ประมาณผลผลิตแต่ละชนิด ความต้องการของตลาด สภาพอากาศ อย่างไรก็ตามหากข้าราชการซึ่งเป็นฝ่ายปฏิบัติการไม่สามารถขับเคลื่อนงานได้ ผลร้ายจะตกกับเกษตรกร ที่ผมเห็นจุดอ่อนคือการแปลงนโยบายไม่ชัดเจน หรือคนปลายทางในพื้นที่มีภารกิจอื่น ไม่อยากทุ่มเท ไม่ใส่ใจเต็มที่



นายทองเปลว กล่าวว่า ห่วงสถานการณ์น้ำลุ่มเจ้าพระยา มีน้ำน้อยต้องควบคุมการใช้น้ำตามปริมาณที่มี แต่ยังมีน้ำมากกว่าปีที่แล้ว 900ล้านลบ.ม.จะไม่ต้องดึงน้ำจากลุ่มน้ำแม่กลอง มามากเหมือนปีที่แล้ว 1.5พันล้านลบ.ม. โดยลุ่มน้ำเจ้าพระยา ปริมาณน้ำต้นทุนจาก 4 เขื่อนหลักลุ่มเจ้าพระยา (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์) 

ปัจจุบันมีปริมาณน้ำรวมกันประมาณ 12,525 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 50 ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำใช้การได้ประมาณ 5,829 ล้าน ลบ.ม. หรือร้อยละ 32 ของความจุอ่างฯ ภาพรวมปริมาณน้ำต้นทุนของลุ่มน้ำเจ้าพระยายังอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างน้อย ต้องขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วนร่วมกันรณรงค์ให้มีการใช้น้ำอย่างประหยัดที่สุด เพื่อให้ปริมาณน้ำที่มีอยู่อย่างจำกัดเพียงพอใช้ตลอดฤดูแล้งนี้

“ปริมาณน้ำใน4เขื่อนใหญ่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ไม่เพียงพอการเพาะปลูก จะส่งเสริมปลูกพืชใช้น้ำน้อย เช่นข้าวโพด ถั่ว ขอความร่วมมือ ไม่ปลูกข้าวต่อเนื่องได้แจ้งไปแล้วแต่มีการปลูกไปกว่า1แสนไร่ ซึ่งเมื่อปี58ไม่ส่งน้ำเพื่อการเกษตร ยังปลูกข้าวถึง2ล้านไร่ โดยเกษตรกรใช้น้ำใต้ดิน น้ำนอนคลอง ทั้งนี้ยืนยันว่าน้ำอุปโภค บริโภค ปีหน้าเพียงพอและมีน้ำน้ำสำรอง ไว้ปีถัดไป”นายทองเปลว กล่าว






ความคิดเห็น