สุดยอด 5 โครงการแก้ปัญหาเกษตรกร

นายประภัตร โพธสุธน รมช เกษตรฯ เปิดเผยว่า แนวนโยบายในปี 64 ที่คนรับผิดชอบใน 4 หน่วยงานหลัก อันได้แก่ กรมปศุสัตว์ กรมการข้าว สำนักงานมาตรฐานสินค่าเกษตรและอาหารแห่งชาติหรือ มกอช.มีแนวทาง นโยบายในการขับเคลื่อนภาคการเกษตรหลักใน5โครงการหลัก เพื่อ โดยมุ่งหวังที่จะขับเคลื่อนงานให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งวางไว้ โดยมีทั้งหมดที่ถือเป็นโครงการหลัก 

โดยโครงการที่ 1. คือโครงการสนับสนุนสินเชื่อเพื่อการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์และเกี่ยวกับกิจการที่เกี่ยวเนื่องฯ (โคขุน กู้วิกฤต Covid-19) เป็นโครงการเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ มีตลาดรองรับที่แน่นอน มีการประกันราคา สำหรับการสนับสนุนเงินทุน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สนับสนุนสินเชื่อเพื่อการเลี้ยงสัตว์ 1 ล้านบาท ดอกเบี้ย 100 บาท/ปี รวมกลุ่มและสมาชิก 7 คนขึ้นไป ยื่นจัดตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชนกับเกษตรอำเภอ ดำเนินการจัดทำแผนธุรกิจเพื่อผ่านความเห็นชอบต่อไป 




จะสามารถเป็นแหล่งเงินทุนที่ช่วยส่งเสริมอาชีพและรายได้ให้กับประชาชน มีกลุ่มเกษตรกรสมัครเข้าร่วมโครงการฯ 52 จังหวัด 1,197 กลุ่ม 11,837 ราย ดำเนินการตามแผนธุรกิจ 23 จังหวัด 100 กลุ่ม 1,378 ราย ธ.ก.ส. (โคขุน 90 กลุ่ม, แพะขุน 4 กลุ่ม, กระบือ 2 กลุ่ม, สุกร 3 กลุ่ม และโคต้นน้ำ คอกกลาง 1 กลุ่ม) อนุมัติสินเชื่อแล้วกว่า 396.434 ล้านบาท และเพื่อสร้างได้อย่างครบวงจร จึงได้ส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตพืชอาหารสัตว์ (หญ้าเนเปียร์แปลงใหญ่) เพื่อลดต้นทุนการเลี้ยงสัตว์และสามารถนำผลผลิตส่วนเหลือส่งขายให้โรงงานไฟฟ้าชีวมวล ผ่านศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์ทั้ง 32 แห่ง

โครงการที่2. เป็นโครงการรักษาระดับปริมาณและคุณภาพข้าว ปี 2563/64 เพื่อให้เกิดความมั่นคงทางอาหาร ความสามารถทางการค้า และการตลาดข้าวไทย จึงสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีแก่เกษตรกรที่ประสบฝนแล้ง ฝนทิ้งช่วง และอุทกภัยในฤดูนาปี ปี 2562/63 ในช่วงเดือนมิถุนายน 2562 ที่ผ่านมา เพื่อนำเมล็ดพันธุ์ไปปลูกทดแทนข้าวที่เสียหาย 




เมื่อได้ผลผลิตสำหรับบริโภคในครัวเรือนแล้วสามารถนำส่วนที่เหลือไปจำหน่าย ทำให้มีรายได้ในการดำรงชีพได้ต่อไป ซึ่งการดำเนินโครงการนี้ มีเป้าหมายที่จะสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ข้าวจำนวน 63,000 ตัน แบบให้เปล่าแก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าว 827,000 ครัวเรือน ที่ประสบฝนแล้ง ฝนทิ้งช่วง และอุทกภัย ในปี 2562 ระหว่างเดือนมิถุนายน – กันยายน 2562 ในพื้นที่ 6.32 ล้านไร่ 34 จังหวัด

โครงการที่ 3. เป็นโครงการเกษตรอัจฉริยะลดต้นทุนการปลูกข้าว ศึกษาทดลองโดยใช้เทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะ พัฒนาเมล็ดพันธุ์ จนได้ชุดเทคโนโลยีที่เหมาะสมและพร้อมที่จะถ่ายทอดความรู้ดังกล่าวไปสู่เกษตรกร ซึ่งได้รับความร่วมมือจากทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน รวมทั้งเกษตรกร จัดทำแปลงเรียนรู้ด้านข้าว  พื้นที่แปลงนากว่า 138 ไร่ ที่อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นเครื่องมือสำคัญ ในการสร้างผลผลิตที่มีคุณภาพ ลดต้นทุนและเพิ่มรายได้ จากการศึกษาและการทดลองเทคโนโลยีแปลงนาอัจฉริยะ พบว่า ต้นทุนในการปลูกข้าว ไม่เกิน 3,000 บาท/ไร่




โครงการที่ 4 คือโครงการผลักดันและส่งเสริมการแสดงและจำหน่ายสินค้าเกษตรให้มีเครื่องหมาย Q โดยเกษตรกรที่ได้รับการรับร้อง GAP จะแสดงเครื่องหมาย Q เพื่อสร้างวความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค ตลอดจนจัดทำมาตรฐานสินค้าเกษตรที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจมากกว่า 20 รายได้ อาทิ ทะลายปาล์มมันสำปะหลัง เผือก ถั่วเขียว กระถินแห้งสำหรับอาหารสัตว์ ยางพารา มาตรฐานฟาร์มโคนม คอกสุนัข แมว ปางช้าง รวมไปถึงการกำหนดมาตรฐานสารพิษตกค้างในสินค้าเกษตร เพื่อยกระดับคุณภาพสินค้าและเพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่ผู้บริโภค

โครงการที่ 5 เป็นโครงการ ปรับปรุงท่าเทียบเรือและตลาดประมง เพื่อใช้ประโยชน์ในพื้นที่สะพานปลาและท่าเทียบเรือประมงทั้ง 18 แห่ง ทั่วประเทศให้มีศักยภาพ นำร่องไปแล้ว 4 แห่ง ได้แก่ สะพานปลากรุงเทพ สมุทรปราการ ชลบุรี และภูเก็ต ให้ได้มาตรฐานเป็นศูนย์กลางสัตว์น้ำที่ทันสมัย ถูกสุขอนามัย

ทั้ง 5 โครงการนั้นนายประภัตร นืนยันว่าจะเร่งรัดดำเนินการให้เกิดผลที่ชัดเจนอย่างเป็นรูปธรรมในปี 2564 เพื่อเป็นการสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรและสร้างความเขื่อมั่นให้กับผู้บริโภคด้วย






ความคิดเห็น