"เกษตรฯ"แจงเวียดนามยืนยันผลตรวจหมูไทยไม่พบเชื้อ ASF

นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่าได้ชี้แจงกรณีเวียดนามประกาศห้ามนําเข้าสุกรจากไทยเมื่อวันที่ 30 มิ.ย. ที่ผ่านมา แล้วโดยได้ส่งหนังสือยืนยันผลตรวจ โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร หรือ ASF ต่อทางการเวียดนามโดยผลจากห้องปฏิบัติการที่ดําเนินการตามข้อกําหนดก่อนการ ส่งออกไปยังเวียดนาม ปรากฏว่า “ไม่พบเชื้ออหิวาต์แอฟริกา” แน่นอน พร้อมยกระดับมาตรการเฝ้าระวังและป้องกันคุมเข้มทั้งในฟาร์มและด่านส่งออกทุกแห่งด้วย

ทั้งนี้การดำเนินการที่เกิดขึ้นนั้นยืนยันว่าทางไทยได้ส่งหนังสือชี้แจงเรื่องนี้ไป ยังเวียดนามทันทีที่ได้รับรายงานเรื่องดังกล่าวจากกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทเวียดนามยืนยันว่าไม่พบเชื้ออหิวาต์ แอฟริกาในหมูไทยตามรายงาน พร้อมตรวจสอบข้อมูลการสุ่มตรวจโรค ASF อย่างละเอียดอีกครั้ง ก็ไม่พบเชื้อในตัวอย่างแต่ อย่างใด โดยได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนดําเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงในทันที พร้อมส่งหนังสือแจ้งผลตรวจสอบข้อมูล ย้อนกลับถึงแหล่งที่มาของสุกรแล้ว ขณะเดียวกันได้ยกระดับมาตรการตรวจสอบสุกรมีชีวิตก่อนการส่งออกให้เข้มงวดมาก ยิ่งขึ้น 




โดยส่งหนังสือแจ้งผู้ประกอบการส่งออกสุกรทุกรายว่า สุกรมีชีวิตทุกชนิดที่จะส่งออกไปยังเวียดนาม ต้องได้รับการตรวจ ทางห้องปฏิบัติการที่ด่านกักกันสัตว์ท่าออกอีกครั้ง ก่อนอนุญาตให้ส่งออก ด้วยการสุ่มเก็บตัวอย่างสุกรบนรถขนสุกรทุกคัน บริเวณจุดขนถ่ายสุกรที่ท่าส่งออกหรือจุดที่ด่านกักกันสัตว์กําหนด 10 ตัวอย่างต่อคัน มีผลบังคับใช้ในทันที เพิ่มเติมจาก ข้อกําหนดเดิมของประเทศเวียดนามที่กําหนดไว้เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้ประเทศคู่ค้าถึงการกํากับดูแลมาตรฐานความ ปลอดภัยด้านสุขภาพสุกรของไทย

สำหรับการระงับของเวียดนาม เป็นไปตามความเข้าใจคลาดเคลื่อนเดิม ที่แจ้งมาเมื่อเดือนพฤษภาคม ซึ่งเมื่อได้ชี้แจงไปยัง เวียดนามแล้ว มีความเข้าใจเป็นอันดี โดยคาดว่าจะเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายสัตว์ผ่านประเทศอื่น ขณะที่ความต้องการ บริโภคเนื้อหมูยังคงสูง และเชื่อว่าเวียดนามจะกลับมานําเข้าหมูไทยอีกในเร็ว ๆ นี้ 



ขอยืนยันว่าการเลี้ยงสุกรของไทยมีมาตรฐาน และมีมาตรการในการป้องกันโรคโดยเฉพาะ ASF เพื่อให้ไทยยังคงสถานะปลอดโรคนี้ โดยเน้นย้ําเกษตรกรผู้เลี้ยงและ ผู้ประกอบการ ร่วมกันยกระดับมาตรการป้องกันโรคที่เข้มงวดอยู่แล้วให้ที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นด้วย

นอกจากนั้นกรมปศุสัตว์ยกระดับการป้องกันให้เข้มข้นขึ้น โดยกําหนดมาตรการเฝ้าระวังและป้องกันโรค ASF 7 ด้าน ได้แก่ 1. เร่งรัดติดตามการขึ้นทะเบียนผู้รวบรวมสุกรหรือพ่อค้าคนกลาง (broker) ในแต่ละจังหวัดให้เสร็จโดยเร็ว 2. ปรับปรุง มาตรการและหลักเกณฑ์การเคลื่อนย้ายให้ง่ายต่อการปฏิบัติและให้มีประสิทธิภาพต่อการป้องกันโรค โดยผ่าน คณะอนุกรรมการวิชาการ ให้ออกมาตรการโดยเร็วที่สุด 3. ชี้แจงมาตรการและหลักเกณฑ์การเคลื่อนย้ายสุกรให้เป็นไปใน ทิศทางเดียวกัน 



4. กองสารวัตรและกักกัน ให้เข้มงวดการตรวจสอบสุกร และผลิตภัณฑ์สุกรที่จะส่งออกไปต่างประเทศ โดยให้ ดําเนินการสุ่มเก็บตัวอย่าง ณ ด่านขาออก หากพบสัตว์ผิดปกติให้ดําเนินการตามที่กรมปศุสัตว์กําหนดอย่างเข้มงวด 5. สถาบัน สุขภาพสัตว์แห่งชาติ ตั้งคณะกรรมการพิจารณาการวิจัยและพัฒนาวัคซีนป้องกัน ASF 

6. สํานักพัฒนาระบบและรับรอง มาตรฐานสินค้าปศุสัตว์รวบรวมและแจ้งรายชื่อโรงฆ่าสัตว์ที่สามารถรองรับการบริหารจัดการ การดําเนินการลดความเสี่ยงต่อ โรคภายในจังหวัด ส่งให้ปศุสัตว์จังหวัดดําเนินการ และ 7. บังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด หากพบการกระทําผิด แจ้งข้อมูลที่ แอปพลิเคชั่น DLD 4.0 หรือสายตรงผู้บริหารกรมโดยตรงด้วย







ความคิดเห็น