"เกษตรฯ"เดินหน้าพัฒนาศักยภาพประมงไทยอย่างยั่งยืน

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพการประมงไทยประชุมหารือขับเคลื่อนการฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพการประมง ครั้งที่ 5/2564 ผ่านระบบ Zoom วาระการประชุมที่เกี่ยวกับความคืบหน้าในการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการฯ เพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาด้านการประมงไทย ร่วมกับนายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ รองปลัดกระทรวง นายอรุณชัย พุทธเจริญ  ผู้ตรวจราชการกระทรวง นายบัญชา สุขแก้ว รองอธิบดีกรมประมง  นายอดิศร พร้อมเทพนายพิชัย แซ่ซิ้ม เลขาธิการสมาคนประมงแห่งประเทศไทย ตัวแทนสมาคมประมง ชาวประมง และทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง 

นายอลงกรณ์ กล่าวว่า จากการประชุมในครั้งนี้ได้ติดตามความคืบหน้าในการแก้ปัญหาด้านการประมงทั้งระบบโดยเฉพาะโครงการประกันภัยกลุ่มเรือประมงพื้นบ้าน การจัดทำแนวทางการพัฒนาประมงพื้นบ้านซึ่งล่าสุดได้มีการเตรียมการเสนอเพื่อขอรับงบประมาณรวมไปถึงการจัดทำร่างนโยบายและแนวทางการพัฒนาการทำการประมงพาณิชย์อย่างยั่งยืนด้วย

นอกจากนั้นยังมีความก้าวหน้าโครงการสินเชื่อเสริมสภาพคล่องเกษตรกรผู้เพราะเลี้ยงจระเข้และผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวเนื่องที่จะสามารถเข้าร่วมโครงการได้ในเดือนตุลาคม 2564 ขณะเดียวกันยังมีเรื่องโครงการลดต้นทุนการผลิตกุ้งทะเลเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในอุตสาหกรรมกุ้งทะเลอย่างยั่งยืนปี 2564 วงเงินชดเชยดอกเบี้ย 450 ล้านบาท ที่ขณะนี้มีบริษัทสมัครเข้าร่วมโครงการจำนวน 15 บริษัท ซึ่งจะดำเนินการหารือกับบริษัทที่เกี่ยวข้องในการร่วมลงทุน เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรต่อไป



ขณะเดียวกันที่ประชุมยังมีการประชุมหารือถึงแนวทางการแก้ปัญหาการขออนุญาตส่งออกสัตว์น้ำ ที่ได้รับการร้องเรียน โดยเฉพาะตลาดกุ้งก้ามกรามขณะนี้ทางกรมประมงได้ดำเนินการจัดทำระบบจำหน่ายสินค้าล่วงหน้าเพื่อเป็นช่องทางในการกระจายเพิ่มให้แก่เกษตรกรอีกทางหนึ่งด้วย ขณะเดียวกันยังมีการพิจารณาผลการศึกษากองทุนสงเคราะห์เกษตรกรเพื่อช่วยเหลือชาวประมงในการจัดทำโครงการขอรับเงินสนับสนุนพร้อมร่วมกันพิจารณาจัดหาแหล่งทุนดอกเบี้ยต่ำเพื่อเสริมสภาพคล่องให้กับผู้ประกอบการเลี้ยงกุ้งทะเล ที่กำลังประสบปัญหาในขณะนี้ด้วย

นายอลงกรณ์ กล่าวด้วยว่า ในส่วนความคืบหน้าโครงการ fisherman village resort ได้มีการขับเคลื่อนร่วมกับโครงการ Thailand riviera ขณะนี้ได้คัดเลือกชุมชนที่มีศักยภาพในการพัฒนาตามเส้นทางดังกล่าวตั้งแต่ตำบลคลองโคนจังหวัดสมุทรสงครามไปสิ้นสุดที่อำเภอชะอำจังหวัดเพชรบุรีได้จำนวนสี่ชุมชนนำร่องซึ่งจะมีการขอรับสนับสนุนงบประมาณวงเงิน 34 ล้านบาทเพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของชุมชน 

ด้านความก้าวหน้าโครงการสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องผู้ประกอบการประมง ปัจจุบันมีผู้ร่วมโครงการกว่า 5,596 รายรวมวงเงินสินเชื่อประมาณ 6,509 ล้านบาท ซึ่งได้รับอนุมัติวงเงินไปกว่าร้อยละ 32 ของผู้เข้าร่วมโครงการ โครงการนำเรือประมงออกนอกระบบเพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรทะเลอย่างยั่งยืนมีการเห็นชอบใช้งบประมาณงบกลางปี 2565 หรืองบประมาณปกติปี 2566 สำหรับกลุ่มเรือจำนวน 75 ลำวงเงิน 490 ล้านบาท พร้อมกันนี้คณะกรรมการได้พิจารณาการแต่งตั้งคณะทำงานจัดทำโครงการเสนอของทุนสงเคราะห์เกษตรกรเพื่อช่วยเหลือผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและสร้างแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำให้แก่เกษตรกรต่อไป







ความคิดเห็น